วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

โรคต้อหิน ภัยที่มากับการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ

ภัยใกล้ตัวที่เกิดจากอยู่หน้าคอมพิวเตอร์




      เพราะยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล จึงทำให้การทำงานต่างๆ ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานเป็นหลัก ด้วยความสะดวกสบายนี้จึงทำให้หลายคน โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานที่มีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ยอมลุกจากเก้าอี้ เพื่อต้องการเคลียร์งานให้เสร็จ   แต่หารู้ไม่ว่าการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ เกิน 1 ชั่วโมงโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง ก้นกบ สะโพก และขาเกร็ง รวมไปถึงข้อ เส้นเอ็น และอวัยวะภายใน ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา

     ข้อมูลจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดย พ.อ.นพ.กิฎาพล วัฒนกูล ผู้อำนวยการกอง เวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้รวบรวมเรื่องราวรอบโรคนำเสนอเป็นความรู้ที่น่าสนใจ ถึง กลุ่มอาการที่อาจกล่าวว่าเป็นโรคใหม่ของผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ คือ Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัย สะสม) เป็นอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ไม่ใช่โรค แต่ เป็นปฏิกิริยาจากการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก และโรคใหม่อีก โรค คือ โรค Hurry Sickness (โรคทนรอไม่ได้) มักเกิดกับผู้ที่เล่นอิน เทอร์เน็ต ที่ทำให้อาการกระวนกระวาย ซึ่งหากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายเป็น โรคประสาทได้ ซึ่งอาจนำไปถึงการเสียเพื่อน และตกงานได้ รายงานการศึกษาวิจัย ที่เกี่ยวข้องได้มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กัน อย่างแพร่หลายในหลาย ๆ ประเทศ พอสรุปได้ดังนี้คือ 




1. ในประเทศสวีเดน พบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้ สารนี้มีชื่อทางเคมีว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิวเตอร์

2. ในประเทศญี่ปุ่น มีผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การใช้เวลาทำงานกับหน้าจอ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ สามารถทำให้มีอาการป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวม ทั้งอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งกลายเป็นอาการ ปกติที่เกิดขึ้น เป็นประจำสำหรับพนักงานที่ใช้เวลาเกินกว่า 5 ชั่วโมงทำ งานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ในแต่ละวัน

3. ในประเทศไทย โดยกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใช้ คอมพิวเตอร์จากหลาย ๆ หน่วยงานพบว่า ห้องทำงานส่วนใหญ่มีสภาพการจัดที่ไม่ เหมาะสม ทั้งนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ร้อยละ 62 ที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบสาย ตา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบกล้าม เนื้อ กระดูกและข้อต่อ อันเนื่องมาจากการใช้คอม พิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
 


โรคและกลุ่มอาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากการทำงานกับ คอมพิวเตอร์

    โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของ โรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็น มาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่ง เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก ระยะสองคือ มีอาการต่อ เนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้ พัก การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองก่อน หรือถ้าเป็นมากควร ปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงาน ให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์ จึงจะรักษาเจาะจงเฉพาะที่ได้




       โรคนี้มีความคล้ายกับ โรคจากการทำงานซ้ำซาก ซึ่งนักกายภาพบำบัดอธิบายว่า พบ มากในผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน มักจะมีอาการชาข้อ มือ หรือที่เรียกว่า กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อ มือ (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดเนื่องจากการใช้งานซ้ำ ๆ ที่บริเวณข้อ มือ ทำให้เอ็นรอบ ๆ ข้อมือหนาตัวขึ้นแล้วไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้ เกิดอาการชาและเจ็บได้ ซึ่งการรักษานอกจากทางกายภาพ โดยใช้ความร้อนทำให้ บริเวณที่จับหนาตัวขึ้นนิ่มลงและยืดมันออก ทำให้อุโมงค์ที่เส้นประสาทลอด ผ่านขยายตัวได้ แต่ถ้าผู้ที่เป็นมาก ๆ จะมีอาการชาจนกระทั่งกล้ามเนื้ออ่อน แรงลงไป การผ่าตัดคือ วิธีรักษาที่ดีที่สุด


      โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำ ให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่อง ดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาท ได้ ท่านจึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้บ้าง มิ ฉะนั้นท่านจะเป็นคนที่เสียทั้งงานและเสียทั้งเพื่อนได้ 


     โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอ คอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อ ว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอ และคอม พิว เตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวด ศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออก มา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจ จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็น อย่างยิ่ง

     โรคต้อหินชนิดเรื้อรัง เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการใช้สายตา( Demand )และปริมาณเลือดแดงที่เข้ามาเลี้ยงเซลล์ประสาทตาภายในลูกตา( Supply ) เมื่อเซลล์ประสาทตาได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จะค่อยๆทยอยเฉาตายลงไปเรื่อยๆ ความดันลูกตาที่สูงกว่าปกติ เป็นเพียงสาเหตุรองที่ต้านระบบไหลเวียนเลือด ทำให้ภาวะขาดเลือดดังกล่าวเลวลงไปอีก
ในอนาคต ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคต้อหินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสภาพเศรษฐกิจที่รัดตัว ผู้คนจะทำงานหนักมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สายตา บวกกับความเจริญทางด้านไอที ทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น และจะพบผู้ป่วยโรคต้อหินอายุน้อยลงเรื่อยๆ ( จากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน การเล่นเกมส์ และการใช้อินเตอร์เน็ต ) และเป็นกลุ่มของโรคต้อหินที่ไม่จำเป็นต้องมีค่าความดันลูกตาสูง ทำให้วินิจฉัยได้ยาก เหมือนในประเทศญี่ปุ่น ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดความดันลูกตาปกติ มากที่สุดในโลก

ข้อเสนอแนะ
การจัดและปรับสภาพโต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคน ควร ปรับระดับที่เหมาะสมของตนเอง เพื่อให้ได้ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง เพื่อ ป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของ ร่างกาย จึงขอเสนอคำแนะนำในการจัดสัดส่วนงานคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียด ดัง นี้ คือ


โต๊ะทำงาน และเก้าอี้
   ควรปรับพนักเก้าอี้ของคุณให้เอียง 100-110 องศา ควรปรับพนักเก้าอี้ขึ้นลงให้เหมาะสม หากมีหมอนเล็กๆ ก็ควรนำมาพิงหลังหากจำเป็น เพื่อให้หลังตั้งตรง หรือหากเก้าอี้ทำงานมีระบบปรับหลังพนักพิงให้ปรับตำแหน่งเก้าอยู่เสมอ ให้พนักพิงสามารถรองรับช่วงโค้งของกระดูกสันหลังช่วงเอวได้ดี
ปรับ ที่วางแขนเพื่อให้ไหล่อยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย หากที่วางแขนทำให้ทำงานไม่ถนัดก็ควรถอดออก
   การจัด วางจอคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
ควรปรับจอภาพด้านบนสุดให้อยู่ในแนวเดียวกับ ระดับสายตา
   ควรวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่เหนือคีย์บอร์ด และอยู่ตรงหน้า ตรงกับระดับสายตาในขณะที่นั่งประมาณ 2-3 นิ้ว
   ควร นั่งให้แขนห่างจากหน้าจอให้ยาวที่สุด และควรปรับระยะการมองเห็น พยายามหลีกเลี่ยงการเพ่งจ้องคอมพิวเตอร์ โดยการวางตำแหน่งจอให้เหมาะสม ถ้าจะให้ดีควรจะมีแผ่นกรองแสงเพื่อป้องกันการเสื่อมของตาด้วย
   ปรับ มุมจอคอมพิวเตอร์ในแนวตั้ง และปรับอุปกรณ์ควบคุมจอเพื่อลดการมองแสงที่ออกจากคอมพิวเตอร์ หรือควรปรับม่านหากมีแสงสว่างมากจนเกินไปทำให้มองไม่เห็นจอคอมพิวเตอร์
   อย่าง ไรก็ตามการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวด เมื่อย หรือ กล้ามเนื้อเกร็งได้ แม้ว่าจะมีการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ ปรับเก้าอี้ พนักพิง และการนั่งที่ถูกต้องแล้ว แต่การนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก็อาจจะทำให้การไหลเวียนของเลือดหยุดชะงัก และทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้ ซึ่งการหยุดพักและผ่อนคลายเป็นวิธีป้องกันได้ดีที่สุด โดย ดร.แพทริก อิริคสัน ได้ให้คำแนะนำถึงวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับพนักงานออฟฟิศง่ายๆ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนี้
  ควรจะพักบริหารร่างกายสัก 1-2 นาที ในทุกๆ 20-30 นาที หลังจากที่นั่งทำงานในแต่ละชั่วโมง เพื่อให้ร่างกาย และกล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย พยายามหางานอย่างอื่นทำแทนในขณะที่หยุดพัก หรือจะเดินไปเข้าห้องน้ำ ยืดเส้น บิดตัวไปมา ก็อาจจะช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายมากขึ้น
  ควรพักสายตา อย่างน้อย 5 นาที หลังจากที่จ้องดูหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เนื่องจาก แสง และรังสีต่างๆ ที่ออกจากจอ อาจทำให้ตาเมื่อยล้า และทำให้สายตาสั้นลงได้ ควรจะพักสายตา โดยการหลับตา หรือ มองไปบริเวณรอบๆ เป็นระยะๆ หากรู้สึกปวดตา ให้มองไปบริเวณที่มีสีเขียว ก็อาจจะทำให้รู้สึกสบายตาขึ้น ไม่ควรจ้องมองไปที่แสงสว่าง หรือที่มีแดดจ้า

หากรู้สึกเมื่อย ก็ให้หยุดพัก ออกไปเดินสูดอากาศข้างนอก ล้างหน้า เพื่อเพิ่มความสดชื่น อย่าฝืนนั่งทำ เพราะอาจจะทำให้เสียสุขภาพได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น